ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ตำบลบางตะบูน ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่เมื่อไร แต่จากการเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ทำให้ ทราบว่า ตำบลบางตะบูนนั้น
ตั้งชื่อตามต้นไม้ชายเลนชนิดหนึ่ง ชื่อ “ต้นตะบูน” ประชากรส่วนใหญ่ ถือศาสนา พุทธ ประกอบอาชีพด้านประมง เป็นตำบลหนึ่งในสิบ
ของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากที่ว่า การอำเภอบ้านแหลม ทางเหนือประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดเพชรบุรี
ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
วิสัยทัศน์
“บ้านเมืองน่าอยู่ ประชาชนอยู่ดีมีสุข”
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ๗ ยุทธศาสตร์ดังนี้
(๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(๒) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
(๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม เศรษฐกิจ พอเพียง และการท่องเที่ยว
(๕) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
(๖) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(๗) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร และการมีส่วนร่วม ของประชาชน
เป้าประสงค์
(๑) ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีความพร้อมให้บริการ
(๒) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
(๓) ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและสาธารณภัย
(๔) ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และสาธารณภัย
(๕) ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๖) ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญา ท้องถิ่น
(๗) ระบบการบริหารจัดการและการบริการสาธารณะมีประสิทธิภาพส่งเสริมการมีส่วนร่วมใน การพัฒนาท้องถิ่น
ข้อมูลหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนผู้ชาย | จำนวนผู้หญิง | รวมประชากร |
หมู่ที่ 4 บ้านคุ้งตำหนัก | 85 ครัวเรือน | 134 คน | 119 คน | 253 คน |
หมู่ที่ 6 บ้านคลองไหหลำ | 51 ครัวเรือน | 85 คน | 91 คน | 176 คน |
หมู่ที่ 7 บ้านบางก้าง | 95 ครัวเรือน | 104 คน | 100 คน | 204 คน |
หมู่ที่ 8 บ้านบางสามแพรก | 236 ครัวเรือน | 346 คน | 366 คน | 712 คน |
ข้อมูลรวม | 467 ครัวเรือน | 669 คน | 676 คน | 1,345 คน |
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ตำบลบางตะบูน ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่เมื่อไร แต่จากการเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ทำให้ ทราบว่า ตำบลบางตะบูนนั้น
ตั้งชื่อตามต้นไม้ชายเลนชนิดหนึ่ง ชื่อ “ต้นตะบูน” ประชากรส่วนใหญ่ ถือศาสนา พุทธ ประกอบอาชีพด้านประมง เป็นตำบลหนึ่งในสิบ
ของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากที่ว่า การอำเภอบ้านแหลม ทางเหนือประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดเพชรบุรี
ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเขาย้อยและตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน มีเนื้อที่ประมาณ ๒๑.๔๐ ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นไร่ ประมาณ ๑๓,๓๘๐ ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะทั่วไปของตำบลบางตะบูน เป็นที่ราบลุ่ม และเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล มีน้ำท่วมถึงดิน เป็นดินเลน ชายทะเลด้านทิศตะวันออก
ของตำบลมีสภาพเป็นป่าชายเลน มีแม่น้ำและลำคลองไหลผ่าน เช่น แม่น้ำบางตะบูน(สาขาของแม่น้ำเพชรบุรี) เช่น คลองไหหลำ, คลองลัด เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากตำบลบางตะบูน มีพื้นที่ราบลุ่ม และที่ราบชายฝั่งทะเล จึงได้รับอิทธิพลของมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝน และอิทธิพลจากมรสุมตะวันออก
เฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ในช่วงระยะแรกของ เดือนตุลาคมจะมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยแบ่งฤดูออกเป็นดังนี้ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ -
เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน ฤดูหนาว
ลักษณะของดิน
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม พื้นดินมีลักษณะเป็นดินเลน
เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน มีพื้นที่ในความรับผิดชอบจำนวน ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๔ บ้านคุ้งตำหนัก ตำบลบางตะบูนอก
หมู่ที่ ๖ บ้านคลองไหหลำ ตำบลบางตะบูน (บางส่วน)
หมู่ที่ ๗ บ้านบางก้าง ตำบลบางตะบูน
หมู่ที่ ๘ บ้านบางสามแพรก ตำบลบางตะบูน
การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็น ๑ เขตการเลือกตั้ง
และมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๘ คน ดังนี้
หมู่ที่ ๔ จำนวน ๒ คน
หมู่ที่ ๖ จำนวน ๒ คน
หมู่ที่ ๗ จํานวน ๒ คน
หมู่ที่ ๘ จำนวน ๒ คน
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอ มาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ยังมีส่วนร่วมในการบริหารงานการช่วยเหลืองานองค์การ บริหารส่วนตำบลด้วยดี
การเกษตร
ประชาชนส่วนหนึ่งจะมีอาชีพเกษตรได้แก่การปลูกต้นจากเพื่อนำมาเย็บเป็นส่วนหนึ่งของหลังคา
การประมง
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน จะมีอาชีพประมงได้แก่ การ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปู เลี้ยงปลา เป็นต้น
ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประชาชน
การท่องเทียว
-กิจกรรมดูนก ตกกุ้ง/ปลา ตามฤดูกาล
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ ๒ แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป
- กลุ่มอาชีพ จํานวน ๑ กลุ่ม
แรงงาน
ประชาชนส่วนหนึ่งที่อยู่ในวัยกำลังแรงงาน จะออกไปทำงานนอกพื้นที่
อาชญากร
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ขโมย ทรัพย์สินบ้างแต่เป็นจำนวนน้อย ซึ่งจากการสำรวจพบว่า
ส่วนมากครัวเรือนมรการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน
ที่สามารถ ดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือ การติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่ สาธารณะ การติดตั้งสัญญาณ/
ป้ายเตือนต่างๆ บริเวณแยกและจุดอันตรายต่างๆ
ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน พบว่าในเขตองค์การ บริหารส่วนตำบลบางตะบูนปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด
เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อยมาก เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับผู้นำหมู่บ้านและประชาชนในพื้นที่ การแก้ไขปัญหา
ขององค์การบริหารส่วนตำบลบาง ตะบูน คือ ดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การฝึกอบรมให้ความรู้ตามอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น
การสังคมสงเคราะห์
๑) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน ๓๑๑ คน คิดเป็นเงิน ๒,๔๖๑,๒๐๐ บาท แบ่งเป็นช่วงอายุ ดังนี้
อายุ ๖๐-๖๙ ปี จำนวน ๑๘๐ คน คิดเป็นเงิน ๑,๒๙๖,๐๐๐ บาท
อายุ ๗๐-๗๙ ปี จํานวน ๘๗ คน คิดเป็นเงิน ๗๓๐,๘๐๐ บาท
อายุ ๘๐-๘๙ ปี จำนวน ๓๙ คน คิดเป็นเงิน ๓๗๔,๔๐๐ บาท
อายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๕ คน คิดเป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท
๒) เบี้ยยังชีพคนพิการ จำนวน ๕๗ คน คิดเป็นเงิน ๕๕๔,๔๐๐ บาท
๓) เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน ๗ คน คิดเป็นเงิน ๔๒,๐๐๐ บาท
ข้อมูล : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔
การศึกษา
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีโรงเรียนในสังกัด คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน ๑ โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนบ้านสามแพรก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ มี นักเรียนในปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๖๔) จำนวน ๒๙ คน
การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนจะนับถือ ศาสนาพุทธ มีวัด จํานวน ๒ แห่ง ได้แก่ วัดคุ้งตำหนัก กับวัดบ้านสามแพรก
ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณีที่ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตคือ ประเพณีวันสงกรานต์และการทำบุญเนื่องในวันสำคัญต่างๆ
ทางศาสนา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนได้อนุรักษ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ได้แก่ การเย็บจาก การเผาถ่าน
ภาษาถิ่น ประชาชนในพื้นที่จะพูดภาษาไทยภาคกลาง
OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าที่เป็นเศรษฐกิจรายได้หลักของประชาชน คือ จาก และถ่าน
สาธารณสุข
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนพบว่า ประชาชนส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มี หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพประชาชน ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จํานวน ๑ แห่ง
- อสม. จํานวน ๓๖ คน
การคมนาคมขนส่ง
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน จะใช้เส้นทางคมนาคม ดังนี้
๑) ทางบก ประกอบด้วย
- ถนนลาดยาง ๒ สาย
- ถนนคอนกรีต ๕ สาย
- ถนนหินคลุก ๒ สาย
๒) ทางน้ำ
- แม่น้ำบางตะบูน
การไฟฟ้า
ปัจจุบันประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน
ได้ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าและติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างในที่สาธารณะ และถนนให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
การประปา
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนมีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือนจากการ ประปาส่วนภูมิภาค
โทรศัพท์
ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสาร โทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ก็มีด้านอินเตอร์เน็ต
ซึ่งจะมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการ เช่น บริษัททีโอที และอื่นๆ เป็นต้น
ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือขนส่ง
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนจะใช้ระบบการขนส่ง ใช้บริการจากที่ทำการ ไปรษณีย์ อำเภอบ้านแหลม และการขนส่งของเอกชน
ทรัพยากรธรรมชาติ
๑) น้ำ
คลอง/แพรก จํานวน ๒๐ สาย
๒) ป่าไม้
ในพื้นที่ตำบลบางตะบูนส่วนมากจะเป็นพื้นที่ชายเลนและป่าโกงกาง
๓) ภูเขา
ตำบลบางตะบูนเป็นพื้นที่ราบลุ่มไม่มีภูเขา
๔) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าโกงกาง